ถ้ามีการทำแท้งด้วยยาในระยะ 10 สัปดาห์แรก การทำแท้งด้วยยาทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนน้อยมาก ความเสี่ยงนี้เทียบเท่ากับเมื่อผู้หญิงมีการแท้งโดยธรรมชาติ และหมอสามารถรักษาได้อย่างง่ายๆ ในหนึ่งร้อยคนที่ทำแท้งด้วยยา มีเพียงสองถึงสามคนที่ต้องไปหาหมอ หรือสถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลเพื่อรับการดูแลต่อเนื่อง

 

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และการรักษา :

ตกเลือดอย่างหนัก (เกิดขึ้นในราวร้อยละ 1 ของการทำแท้งด้วยยา)

  • อาการ : การตกเลือดเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงและเต็มผ้าอนามัยขนาดแม็กซี่สองแผ่นในหนึ่งชั่วโมง อาการมึนงง เวียนหัว อาจเป็นการบ่งบอกว่าเสียเลือดมากเกินไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและต้องได้รับการรักษาโดยหมอ
  • การรักษา: การดูดออก (ขูดมดลูก) และมีโอกาสน้อยมาก (น้อยกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์) ที่ต้องให้เลือด

 

การแท้งไม่สมบูรณ์

  • อาการ : การตกเลือดอย่างหนักหรือต่อเนื่อง หรือ การปวดท้องมากอย่างต่อเนื่อง
  • รักษา : การดูด (ขูดมดลูก)

 

การติดเชื้อ

  • อาการ : ถ้าคุณมีไข้ (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เป็นเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง หรือมีไข้มากกว่า 39 องศา เป็นไปได้ว่ามีการติดเชื้อที่ต้องรักษา
  • การรักษา : ยาปฎิชีวนะ และ/หรือการดูด

ถ้ารู้สึกว่ามีอาการแทรกซ้อน ให้รีบไปหาหมอทันที ถ้าอยู่ในที่ที่การทำแท้งเป็นอาชญากรรม หรือคุณไม่มีหมอที่ไว้ใจได้ คุณก็ยังไปหาหมอได้ โดยไม่ต้องบอกว่าคุณพยายามทำแท้ง ขอให้บอกไปเลยว่าคุณเกิดแท้งเอง หมอจะต้องมีหน้าที่ช่วยคุณในทุกกรณีที่คนไข้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังการแท้ง

การแท้งเอง และ การใช้ยาทำแท้ง จะมีอาการเหมือนกัน และหมอจะสังเกตไม่เห็น หรือตรวจสอบไม่ได้ว่ามีการทำแท้งมา ตราบเท่าที่ไม่พบตัวยา ถ้าคุณใช้วิธีอมไมโซพรอสทอลไว้ใต้ลิ้นอย่างที่เราแนะนำ ยาควรจะละลายหมดไปภายในสามชั่วโมง ถ้าคุณเหน็บยา คุณจะต้องเช็คด้วยนิ้วมือก่อนให้แน่ใจว่ายาละลายไปจนหมดแล้ว เพราะยาอาจจะยังหลงเหลืออยู่ถึง 4 วันหลังจากวันที่เหน็บยา

น้อยกว่าร้อยละ 1% ของผู้หญิงพบว่าตัวเองยังตั้งครรภ์ต่อไป ซึ่งสามารถรู้ได้ด้วยการตรวจการตั้งครรภ์หลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์ หรืออุลตร้าซาวด์หลังจากผ่านไป 10 วัน ถ้าการทำแท้งด้วยยาไม่สำเร็จ อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงของการเติบโตผิดรูปของมือและเท้า หรือ ระบบประสาทของตัวอ่อน การรักษาอาการตั้งครรภ์ต่อคือการทำแท้งด้วยยาซ้ำอีกครั้ง หรือ ทำแท้งด้วยเครื่องมือ